Pink Rainbow Over Clouds

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่   3
วันพฤหัสบดี   ที่ กันยายน  2558  (09.00 -  12.30 . )


ความรู้ที่ได้รับ
เขียนป้ายชื่อ แนบลิงค์ blog อาจารย์อธิบายการออกแบบ blog  ทบทวนร้องเพลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนเข้าสู่เนื้อหาทฤษฎี



  ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย ป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก

ความสำคัญของภาษา 

1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

ทักษะทางภาษา ประกอบด้วย
  1. การฟัง
  2. การพูด
  3. การอ่าน
  4. การเขียน


องค์ประกอบของภาษา


1. Phonology

•คือระบบเสียงของภาษา
•เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
•หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา


2. Semantic

•คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
•คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
•ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน

3. Syntax
•คือระบบไวยากรณ์
•การเรียงรูปประโยค
4. Pragmatic
•คือระบบการนำไปใช้
•ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ

พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
1.ระยะเปะปะ (Prelinguistic Stage) 
            •อายุแรกเกิด ถึง 6 เดือน
            •เด็กจะเปล่งเสียงดัง ๆ ที่ยังไม่มีความหมาย เพื่อบอกความต้องการ
            •ออกเสียง อ้อ – แอ้
            •เป็นช่วงที่ดีในการสนับสนุนให้เด็กมีพัฒนาการทางการพูด
            •เด็กที่มีสุขภาพดีทั้งกายและใจจะมีพัฒนาทางภาษาที่ดี
2.ระยะแยกแยะ (Jergon Stage)
           •อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี
           •สามารถแยกแยะเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยิน
           •พอใจที่ได้ส่งเสียง
           •ถ้าเสียงใดที่เด็กเปล่งออกมาได้รับการตอบสนองในทางบวก เด็กก็จะเปล่งเสียงนั้นซ้ำอีก
           •บางครั้งเด็กจะเลียนเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ตามเสียงคนที่พูดคุยด้วย
3.ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage)
           •อายุ 1 – 2 ปี
           •เลียนเสียงต่าง ๆ ที่เด็กได้ยิน
           •เสียงที่เปล่งออกมาอย่างไม่มีความหมายจะค่อย ๆ หายไป
           •พูดย้ำคำซ้ำๆไปมา
           •ใช้คำศัพท์ได้ 5-20 คำ
           •ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion) 
           •อายุ 2 – 4 ปี
อายุ 2 ปี 
           •เรียกชื่อสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว
           •พูดเป็นคำ
           •รู้จักคำศัพท์ 150-300 คำ
           •เข้าใจสิ่งที่พูด 2 / 3
           •ใช้คำบอกตำแหน่ง
           •ใช้คำสรรพนามแทนตัวเอง
อายุ 3 ปี 
          •พูดเป็นประโยคได้
          •รู้จักคำศัพท์ 900-1,000 คำ  เข้าใจสิ่งที่พูด 90%
          •ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
          •สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
          •สามารถตั้งคำถามโดยใช้เหตุผล
          •สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
          •ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่าย ๆ
          •แสดงท่าทางเลียนแบบได้
          •รู้จักใช้คำถาม “อะไร”
          •สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
          •เข้าใจคำถามง่ายๆ
          •บอกเพศ ชื่อ อายุตัวเองได้
อายุ 4 ปี 
         •บอกชื่อสิ่งของในรูป
         •ใช้คำบุพบทได้
         •รู้จักสีอย่างน้อย 1 สี
         •ชอบเล่าเรื่อง
         •ชอบพูดซ้ำๆ
         •บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
         •พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
         •สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
         •สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
         •รู้จักใช้คำถาม “ทำไม”
5.ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) 
         •อายุ 4 – 5 ปี
         •ใช้คำบรรยายลักษณะได้ดีขึ้น
         •เริ่มเล่นสนุกกับคำและรู้จักคิดคำและประโยคของตนเอง
         •ทำตามคำสั่ง 3 อย่างต่อกันได้
         •รู้จักเวลาคร่าวๆ
6.ระยะตอบสนอง (Responding Stage) 
         •อายุ 5 – 6 ปี
         •สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้
         •รู้จักใช้คำถาม “ทำไม” “อย่างไร”
         •เริ่มพัฒนาไปสู่ภาษาที่เป็นแบบแผนมากขึ้น
         •สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
         •ใช้ภาษาเหล่านั้นกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว
7.ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage)
         •อายุ 6 ปีขึ้นไป
         •เข้าใจคำพูดที่ใช้ในสังคม
         •ภาษาพูดเป็นนามธรรมมากขึ้น
         •สนุกกับการแสดงความคิดเห็นโดยการพูดและการเขียน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
1.วุฒิภาวะ
         •อายุ 3 ขวบ จะสามารถใช้คำพูด 376 คำต่อวั
         •อายุ 4 ขวบ จะพูดได้ 397 คำต่อวัน
2.สิ่งแวดล้อม
        •บ้าน พ่อแม่ ผู้ปกครอง
        •ครู โรงเรียน
3.การเข้าใจความหมายภาษาที่ใช้พูด
4.การจัดชั้นเรียน
5.การมีส่วนร่วม (Participation)
พัฒนาการภาษาของเด็กปฐมวัย
     เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และเข้าใจ เป็นลำดับขั้นครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ
หากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้องควรมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก



เขียนป้ายชื่อประจำตัว




ทบทวนร้องเพลงสวัสดี  ฉันเป็นผีเสื้อ เพื่อนตรงข้ามเป็นดอกไม้ 
แล้วให้ไปทักทายคำว่าสวัสดีในประเทศอาเซียน




อาจารย์อธิบายทฤษฎี



เพื่อนๆตั้งใจเรียนมากๆ



ผลงานวาดภาพหนูเอง เจ้าหมีตัวโปรด 
ฉันไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน วันนี้จึงได้รางวัลเด็กดี


อาจารย์สอนร้องเพลงใหม่



เนื้อเพลงใหม่ได้แก่ เพลงตาดูหูฟัง  เพลงนกเขาขัน  เพลง จ้ำจี้ดอกไม้ 
 เพลงดอกไม้  เพลงกินผักกัน





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    - นำความรู้การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยไปปรับใช้ในการฝึกสอนได้ด้วยตนเอง
  - การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องเข้าใจในธรรมชาติผู้เรียน ให้เด็กได้ฝึก อาจารย์แนะนำว่าในห้องเรียนห้องของเด็ก ไม่ควรมีดินสอ ยางลบ สีไม้ เพราะอันตรายและปิดกั้นจินตนาการของเด็กๆ ควรใช้สีเทียน สีช็อกแทน 



การประเมินผล

ประเมินตนเอง
วันนี้รู้สึกกังวลตั้งแต่ช่วงแนบลิงค์  blog  จำชื่อลิงค์ตัวเองไม่ได้  หลังจากที่อาจารย์พาทบทวนร้องเพลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ ผ่อนคลายก่อนเรียน  เรียกสติกลับมาก็รู้สึกมีสมาธิมากขึ้นก่อนจะเข้าสู่บทเรียน เรื่องการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  อาจารย์เปิดภาพแล้วให้เราช่วยกันตอบ  ภาพที่เห็นนั้นหมายถึง  ก็เป็นภาษาแบบหนึ่งที่เป็นรูปสามารถสื่อสารให้เราเข้าใจได้ เช่น  สุนัขอยู่ในแก้ว หมายถึง  สุนัขพันธุ์บางแก้ว  จากนั้นอาจารย์มีคำศัพท์ให้หนึ่ง ให้เราพูดคำสุภาษิตที่มีสัตว์ เช่น ปลาหมอตายเพราะปาก เขียนเสือให้กลัว วันนี้ก็ยังมีความรู้ไม่มาก เนื่องจากทักษะภาษาที่ดีจะต้องประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน  การเขียน  ซึ่งบางคำถามที่อาจารย์ถามเราตอบไม่ได้ สำหรับเนื้อหาทฤษฎีที่เรียนก็พอเข้าใจ

ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนก็มาเรียนกันพร้อมหน้าพร้อมตา ขาด 1 คน คือนางสาวนรากุล  ธรรมชาติ เพื่อนบอกว่ามาไม่สบาย  เพื่อนกลุ่มฉันเป็นกันเองทุกคน  เวลาเรียนจริงๆเหมือนแบ่งออกเป็น กลุ่ม กลุ่มเพื่อนฉันดูเหมือนเงียบๆเรียบร้อย ไม่ค่อยพูด  แต่พวกเพื่อนแน็ตสนุกสนาน มีความมั่นใจ เวลาอาจารย์ถามก็ตอบอย่างรวดเร็ว และมั่นใจภาพรวมทุกคนก็ตั้งใจเรียนมากๆ เมื่ออาจารย์อธิบายแววตาทุกคนจับจ้องที่อาจารย์และการถ่ายรูปเพื่อบันทึกการเรียนใน blog  เวลาอาจารย์ถามก็ตอบได้เร็ว

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนก่อนเวลา อาจารย์ก็ให้เขียนป้ายชื่อ ซึ่งมีอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้ สอนวิธีการออกแบบ blog การลิงค์ blog ทบทวนร้องเพลงสัปดาห์ที่ผ่านมา  จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย พร้อมยกตัวอย่างประกอบการเรียน ให้เราวาดภาพที่เราชอบพร้อมอธิบายความหมาย พาร้องเพลงใหม่ 5 เพลง ได้แก่ เพลงตาดูหูฟัง  เพลงนกเขาขัน  เพลง จ้ำจี้ดอกไม้  เพลงดอกไม้  เพลงกินผักกัน อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีและเป็นกันเองกับนักศึกษา









ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

บทความใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า Hamutaro หน้าแรก